เมนู

ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "การทำโดยตั้งใจ การทำติดต่อกัน การทำไม่หยุด
การประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดทิ้งความพอใจ การไม่ทอดธุระ การ
เสพคุ้น การทำให้มีขึ้น การทำให้มาก ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย".
คำว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา 3 . คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ 2 คือ
อธิมุตติแห่งจิต และนิพพาน. และในที่นี้ สมาบัติ 8 ชื่อว่า
อธิมุตติ เพราะพ้นแล้วเป็นอันดี จากกิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น
นิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง.
คำว่า ขเย ญานํ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทำให้กิเลสสิ้นไป.
คำว่า อนุปฺป เท ญาณํ ได้แก่ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดย
ปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้น ๆ
ฆ่าได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "คำว่า ขเย ญาณํ คือ ญาณ
ของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค. คำว่า อนุปฺปเท ญาณํ คือ ญาณของผู้
พรั่งพร้อมด้วยผล.
คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น พึงประกอบความ ตามนัยที่
กล่าวแล้วในหมวดหนึ่งนั้นแล. พระเถระแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรม
หมวดของ รวม 35 คู่ ด้วยประการดังนี้แล.
จบธรรมหมวด 2

ว่าด้วยธรรมหมวด 3


ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรมหมวดสอง ดังนี้แล้ว บัดนี้
พระเถระเริ่มเทศนาต่อไป เพื่อจะแสดงด้วยอำนาจธรรมหมวดสาม. บรรดา

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าโลภะ ด้วยอรรถว่า อยากได้. อกุศลนั้นด้วย เป็นมูล
รากด้วย หรือว่า (โลภะเป็น) มูลรากแห่งอกุศลทั้งหลาย ดังนั้น จึงชื่อว่า
อกุศลมูล. ชื่อว่า โทสะ ด้วยอรรถกถาว่า ประทุษร้าย. ชื่อว่า โมหะ ด้วย
อรรถว่า งมงาย. ส่วนอโลภะ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโลภะ
เป็นต้นเหล่านั้น.
ความประพฤติเลวร้าย หรือว่า ความประพฤติผิดรูป ดังนั้น จึง
ชื่อว่า ทุจริต. ทุจริต ด้วยกาย หรือว่า ทุจริตอันเป็นไปทางกาย ดังนั้น
จึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้คำที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ความประพฤติ
ถูกต้อง หรือว่าความพฤติดีงาม ดังนั้น จึงชื่อว่า สุจริต. และธรรม
หมวดสามทั้ง 2 ข้อนี้ ความจะกล่าวโดยบัญญัตินัยหนึ่ง โดยกรรมบถ
นัยหนึ่ง. จะว่าโดยบัญญัติก่อน. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว
ในกายทวาร ชื่อว่า กายทุจริต, ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่ากายสุจริต.
ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วในวจีทวาร ชื่อว่าวจีทุจริต, ควร
ไม่ล่วงละเมิดชื่อว่า วจีสุจริต. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว
ในทวารทั้ง 2 นั่นเอง ชื่อว่า มโนทุจริต ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่า
มโนสุจริต. นี้กล่าวโดยบัญญัติ. ส่วนเจตนา 3 อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น
ที่เกิดขึ้น ทั้งในกายทวาร ทั้งในวจีทวาร ชื่อว่ากายทุจริต. เจตนา 4 อย่าง
มีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วจีทุจริต. ธรรม 3 อย่างที่ประกอบด้วย เจตนาคือ
อภิชฌา ( เพ่งเล็ง อยากได้ของเขา ) พยาบาท ( ปองร้ายเขา ) มิจฉาทิฐิ
(เห็นผิด ) ชื่อว่า มโนทุจริต. เจตนาก็ดี วิรัติก็ดี ทั้ง 3 อย่าง ที่เกิดขึ้น
แก่ผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า กายสุจริต เจตนาก็ดี วิรัติก็ดี
ทั้ง 4 อย่าง ที่เกิดขึ้นแก่ผู้งดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วจีสุจริต.

ธรรม 3 อย่าง ที่ประกอบด้วยเจตนา คือ อนภิชฌา (ไม่เพ่งเล็งอยากได้
ของเขา) อพยาบาท (ไม่ปองร้ายเขา) สัมมาทิฐิ (เห็นถูก ) ชื่อว่า
มโนสุจริต นี้กล่าวโดยกรรมบถ.
วิตกที่ประกอบด้วย กาม ชื่อว่า กามวิตก. วิตกที่ประกอบด้วย
พยาบาท ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วย วิหิงสา (ความ
เบียดเบียน ) ชื่อว่า วิหิงสาวิตก. บรรดาวิตกเหล่านี้ วิตก 2 อย่าง ย่อม
เกิดขึ้น ทั้งในสัตว์ ทั้งในสังขาร. เป็นความจริงที่เมื่อคิดถึงสัตว์ก็ตาม
สังขารก็ตาม ที่น่ารักใคร่พอใจ กามวิตกย่อมเกิดขึ้น. ตั้งแต่เวลาที่โกรธ
แล้วมองดูสัตว์ก็ตาม สังขารก็ตาม ที่ไม่รักไม่ชอบใจ จนกระทั่ง ( เห็นสัตว์
หรือสังขารนั้น) พินาศไป พยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้น. วิหิงสาวิตกย่อม
ไม่เกิดขึ้นในสังขาร. เพราะสังขารที่ชื่อว่าควรจะทำให้ถึงความลำบากได้
หามีไม่. แต่วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้นในสัตว์ในเวลาที่คิดว่า สัตว์พวกนี้จง
ถูกฆ่า จงขาดสูญไป จงพินาศไป หรือว่า จงอย่าได้มี วิตกที่ประกอบด้วย
เนกขัมมะ ( ความออกจากกาม ) ชื่อว่า เนกขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้น
จัดเป็นกามาวจร ในบุรพภาคแห่งอสุภฌาน, จัดเป็นรูปาวจรในอสุภฌาน,
จัดเป็นโลกุตตระในเวลาที่ทำฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. วิตก
ที่ประกอบด้วยอพยาบาท ชื่อว่า อพยาบาทวิตก. อพยาบาทวิตกนั้น จัดเป็น
กามาวจร ในบุรพภาคแห่งเมตตาฌาน. จัดเป็นรูปาวจร ในเมตตาฌาน,
จัดเป็นโลกุตตระในเวลาที่ทำฌานให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. วิตกที่
ประกอบด้วยอวิหิงสา ชื่อว่า อวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้น จัดเป็น
กามาวจรในบุรพภาคแห่งกรุณา จัดเป็นรูปาวจรในกรุณาฌาน, จัดเป็น

โลกุตตระไม่เวลาที่ทำฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. เมื่อใด
อโลภะเป็นตัวนำ. เมื่อนั้น ธรรม 2 อย่างนอกนี้ ก็ย่อมเป็นตัวตาม.
เมื่อใดเมตตาเป็นตัวนำ, เมื่อนั้น ธรรม 2 อย่างนอกนี้ ก็ย่อมเป็นตัวตาม.
เมื่อใดกรุณาเป็นตัวนำ เมื่อนั้น ธรรม 2 อย่างนอกนี้ก็ย่อมเป็นตัวตาม
ด้วยประการดังนี้. ส่วนกามสังกัปปะเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแล. เพราะข้อนี้เป็นแต่เพียงเทศนาเท่านั้น. แต่โดยความหมายแล้ว
ทั้งกามวิตกเป็นต้น และกามสังกัปปะเป็นต้น ไม่มีอะไรที่ทำให้แตกต่างกัน.
สัญญาที่ประกอบด้วยกาม ชื่อว่า กามสัญญา. สัญญาที่ประกอบด้วย
พยาบาท ชื่อว่า พยาบาทสัญญา. สัญญาที่ประกอบด้วยวิหิงสาชื่อว่า วิหิงสา-
สัญญา. แม้อาการที่เกิดขึ้นแห่งสัญญาเหล่านั้น ก็พึงทราบเช่นเดียวกับ
กามวิตกเป็นต้น. เพราะสัญญาเหล่านี้ ก็ล้วนแต่ประกอบด้วย กามวิตก
เป็นต้น นั้น เช่นเดียวกัน. แม้เนกขัมมสัญญาเป็นต้น ก็ประกอบด้วย
เนกขัมมวิตกเป็นต้นเช่นกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นกามาวจร
เป็นต้น แห่งสัญญาเหล่านั้น เช่นเดียวกับเนกขัมมวิตก เป็นต้นนั้นนั่นเอง
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมทั้งหลาย มีกามธาตุเป็นต้น ( ต่อไป ).
ความตรึก วิตก ความดำริผิด ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่า กามธาตุ, อกุศล
ธรรมทั้งปวง ชื่อว่ากามธาตุ ดังกล่าวมานี้คือ กามธาตุ. ความตรึก วิตก
ความดำริผิด ที่ประกอบด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทธาตุ, ความอาฆาต
ความกระทบแห่งจิต ความไม่พอใจ ในบรรดาวัตถุแห่งความอาฆาต 10 อย่าง
ดังกล่าวมานี้คือ พยาบาทธาตุ, ความตรึก วิตก ความดำริผิด ที่ประกอบ
ด้วยวิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ, บางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียน

สัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง
ด้วยเชือกบ้าง ด้วยวัตถุหรือกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ดังกล่าวมานี้ คือ
วิหิงสาธาตุ. ในเรื่องกามธาตุนั้น มีกถาอยู่ 2 อย่าง คือ สัพพสังคาหิกกถา
และอสัมภินนกถา, ในกถา 2 อย่างนั้น ถือเอากามธาตุ ย่อมเป็นอันถือ
เอาธาตุ 2 อย่างนอกนี้ด้วย แต่ทรงแยกออกจากธาตุนั้นแสดงว่า นี้คือ
พยาบาทธาตุ นี้คือวิหิงสาธาตุ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าสัพพสังคาหิกกถา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสกามธาตุ ก็ทรงงดพยาบาทธาตุไว้ในที่ของ
พยาบาทธาตุ ทรงงดวิหิงสาธาตุไว้ในที่ของ วิหิงสาธาตุ แล้วตรัสส่วนที่เหลือ
ว่า นี้คือกามธาตุ, ดังที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า อสัมภินนกถา. พึงทราบวินิจฉัย
ในธรรมทั้งหลาย มีเนกขัมมธาตุเป็นต้น. ความตรึก วิตก ความดำริถูก
ที่ประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมทั้งปวง ชื่อว่า
เนกขัมมธาตุ ดังกล่าวมานี้ คือ เนกขัมมธาตุ ความตรึก ฯลฯ ที่ประกอบ
ด้วยอพยาบาท นี้เรียกว่าอพยาบาทธาตุ. ไมตรีในสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
เมตตาเจโตวิมุตติ ดังกล่าวมานี้คือ อพยาบาทธาตุ. ความตรึก ฯลฯ
ที่ประกอบด้วยอวิหิงสา นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ, ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ดังกล่าวมานี้คือ อวิหิงสาธาตุ แม้กถา 2 อย่างในที่นี้
ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลังนั่นแล. คำว่า อปราปิ ติสฺโส
ธาตุโย
หมายถึงธาตุอย่างอื่นอีก 3 ด้วยอรรถว่าเปล่า. บรรดาธาตุเหล่า
นั้น กามภพที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธาตุเหล่านั้น
กามธาตุคืออะไร คือ กามภพ มีอเวจีนรก เบื้องต่ำให้เป็นที่สุด" ดังนี้
ชื่อว่ากามธาตุ. ส่วนรูปภพและอรูปภพ ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า

"รูปภพมีพรหมโลกชั้นต่ำเป็นที่สุด. อรูปภพมีเทพที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญ-
จายตนะเป็นที่สุด" ดังนี้ ชื่อว่า รูปธาตุ และ อรูปธาตุ ทั้ง 2. ในที่มาแห่ง
ธาตุ พึงกำหนดเขตด้วยภพ. ในที่มาแห่งภพ พึงกำหนดเขตด้วยธาตุ. ใน
ที่นี้ ท่านแถลงการกำหนดเขตด้วยภพ. พึงทราบวินิจฉัยในรูปธาตุเป็นต้น.
รูปธาตุและอรูปธาตุ ก็คือรูปภพ และอรูปภพนั่นเอง. ท่านแถลงนิพพาน
ด้วยนิโรธธาตุ. พึงทราบวินิจฉัยใน หีนธาตุเป็นต้น. คำว่า หีนธาตุ
ได้แก่จิตตุปบาท อันเป็นอกุศล 12. ธรรมที่เหลืออันเป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า
มัชฌิมธาตุ. โลกุตตรธรรม 9 ชื่อว่า ปณีตธาตุ.
คำว่า กามตัณหา ได้แก่ราคะ อันประกอบด้วยเบญจกามคุณ. ส่วน
ราคะในรูปภพและอรูปภพจัดเป็นฌานนิกันติ ( ความติดใจในฌาน). ราคะ
ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิคือการปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภวตัณหา.
ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. อีกนัยหนึ่ง ยกเว้น
ตัณหา 2 อย่างหลัง ( คือภวตัณหา และวิภวตัณหา ) ตัณหาที่เหลือ ชื่อว่า
กามตัณหา. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่านั้น ภวตัณหาคือ
อะไร คือราคะ ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิ. สาราคะ ( ความกำหนัดจัด) ฯลฯ
สาราคะแห่งจิตนี้ เรียกว่า ภวตัณหา, บรรดาตัณหาเหล่านั้น วิภวตัณหา
คืออะไร คือราคะที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฐิ. สาระคะ ฯลฯ สาราคะแห่ง
จิตนี้เรียกว่า วิภวตัณหา". ตัณหาที่เหลือชื่อว่า กามตัณหา " พึงทราบ
วินิจฉัยในกามตัณหาเป็นต้นอีกหมวดหนึ่ง. ราคะอันประกอบด้วยเบญจ-
กามคุณ ชื่อว่า กามตัณหา. ฉันทราคะ ในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า
รูปตัณหาและอรูปตัณหา 2 อย่างนอกนี้. ส่วนในพระอภิธรรม ท่านแถลง

รายละเอียดเรื่องตัณหาหมวดนี้ไว้อย่างนี้ว่า "ฉันทราคะ ที่ประกอบด้วย
กามธาตุ ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอรูปธาตุ". ด้วย วาระนี้ ท่านแสดงอย่างไร.
ท่านรวมเอาตัณหาทั้งหมดไว้ด้วยกามตัณหาว่า "ธรรมทั้งปวงที่เป็นไปใน
ภูมิ 3 ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ด้วยอรรถว่า น่ากำหนัดยินดี" แล้ว
แสดงตัณหา 2 อย่างนอกนี้แยกออกจากกามตัณหานั้น. พึงทราบวินิจฉัย
ในรูปตัณหาเป็นต้น. ฉันทราคะในรูปภพ ชื่อว่า รูปตัณหา. ฉันทราคะ
ในอรูปภพ ชื่อว่า อรูปตัณหา. ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฐิ ชื่อว่า
นิโรธตัณหา.
พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชน์ 3 อย่าง. ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะ
อรรถว่า ร้อยรัดผูกพันไว้ในวัฏฏะ. ความเห็นในกายเช่นรูป เป็นต้น
ว่ามีอยู่ หรือว่า ความเห็นในกาย อันมีอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฐิ.
เมื่อพิจารณาเลือกเฟ้นอยู่ ย่อมสงสัย คือไม่สามารถที่จะตกลงใจได้ เพราะ
ธรรมชาติอันนี้ ดังนั้น ธรรมชาติอันนั้นจึงชื่อว่า วิจิกิจฉา. บุคคลย่อม
ลูบคลำ ( ยึดติด ) ศีลด้วย วัตรด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.
แต่ว่าโดย ความหมายแล้ว ทิฐิอันมีวัตลุ 20 ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
"ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตัวตน" ชื่อว่า สักกายทิฐิ ฯ ความสงสัยอัน
มีวัตถุ 8 ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า " ย่อมสงสัยในพระศาสดา" ชื่อว่า
วิจิกิจฉา. การยึดถืออย่างผิดปรกติ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "บางคน
ในโลกนี้ ลูบคลำ ( ยึดติด ) ศีล ลูบคลำวัตร ลูบคลำศีลพรตว่า
" หมดจดได้ด้วยศีล หมดจดได้ด้วยวัตร, หมดจดได้ด้วยศีลพรต, ทิฐิ
ความเห็นไปข้างทิฐิมีลักษณะอย่างนี้" ดังนี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ตโย อาสวา นี้ต่อไป. ชื่อว่า อาสวะ
ด้วยอรรถว่า เป็นฐานะที่อาศัยอยู่ช้านานบ้าง ด้วยอรรถว่าไหลไปทั่วบ้าง.
ใน 2 ความหมายนั้น พึงทราบอาสวะโดยความหมายที่ว่า เป็นฐานะที่
อาศัยอยู่ช้านาน ก่อนอย่างนี้ - " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี, ย่อมาภายหลัง จึงได้มี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ภวทิฐิ ย่อมไม่ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้
ภวทิฐิมิได้มี, ต่อมาภายหลังจึงได้มี" ดังนี้ . พึงทราบอาสวะ โดยความ
หมายที่ว่า ไหลไปทั่วอย่างนี้ว่า "อาสวะย่อมไหลไป ไหลไปทั่ว ไหลทั่วไป
เป็นไปในรูป โดยทางตา ในเสียง โดยทางหู ในกลิ่น โดยทางจมูก ในรส
โดยทางลิ้น ในโผฏฐัพพะ โดยทางกาย. ย่อมไหลไป ไหลไปทั่ว ไหลทั่วไป
เป็นไปในธรรมารมณ์ โดยทางใจ" ดังนี้ . แต่ในพระบาลี บางแห่งอาสวะ
มีมา 2 อย่าง คือ ทิฐธรรมิกาสวะ ( อาสวะในภพนี้ ) และสัมปรายิกาสวะ
( อาสวะในภพหน้า ). บางแห่งมีมา 3 อย่าง เช่น " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ 3 เหล่านี้คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ". ในพระอภิธรรม
อาสวะ 3 เหล่านั้นเอง รวมกับทิฐิอาสวะ เป็น 4. ในนิพเพธิกปริยายสูตร
มี 5 อย่างนี้คือ- "ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ยังให้ถึงนรกมีอยู่, อาสวะที่
ยังให้ถึงกำเนิดดิรัจฉานมีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงเปรตวิสัยมีอยู่ อาสวะที่
ยังให้ถึงมนุษย์โลก มีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงเทวโลก มีอยู่". ในอาหุ-
เนยยสูตร ฉักกนิบาต มี 6 อย่างนี้คือ- "ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละ
ด้วยความสำรวมระวังมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการคบหามีอยู่, อาสวะที่
พึงละด้วยการเว้นรอบมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยความอดกลั้นมีอยู่. อาสวะ
ที่พึงละด้วยการบรรเทามีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการอบรมมีอยู่". ใน

สัพพาสวปริยายสูตร. อาสวะ 6 เหล่านี้เองรวมกับอาสวะที่พึงละด้วยทัศนะ
เป็น 7. ส่วนในสังคีติสูตรนี้ อาสวะมีมา 3 อย่าง. บรรดาอาสวะ 3 อย่างนั้น
ราคะที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "กามฉันทะ
ในกามทั้งหลาย" ดังนี้ ชื่อว่า กามาสวะ. ราคะที่ประกอบด้วยสัสตทิฐิ
อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ภวฉันทะในภพทั้งหลาย" ดังนี้ หรือความ
ปรารถนาเนื่องด้วยภพ ชื่อว่า ภวาสวะ. อวิชชาที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
" ความไม่รู้ทุกข์" ชื่อว่า อวิชชาสวะ. ดังนี้แล. กามภพเป็นต้น ได้กล่าวมา
แล้วโดยเกี่ยวกับกามธาตุเป็นต้นนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยในกาเมสนาเป็นต้น. ราคะที่แสวงหากาม อัน
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น กาเมสนาคืออะไร คือ
กามฉันทะ ในกามทั้งหลาย ฯลฯ ความจมลงในกามนี้เรียกว่า กาเมสนา
(แสวงหากาม)". ราคะที่แสวงหาภพ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือ "ภวฉันทะในภพทั้งหลาย ฯลฯ
ความจมลงในภพนี้เรียกว่า ภเวสนา ( แสวงหาภพ )". ทิฐิที่แสวงหา
พรหมจรรย์ที่รู้กันว่าเป็นคติแห่งทิฐิ อันท่านกล่าวไว้อย่างนั้นว่า " บรรดา
ธรรมเหล่านั้น พรหมจริเยสนา คืออะไร คือทิฐิ ความเห็นไปข้างทิฐิ
การยึดถืออย่างผิดปรกติ ถึงขนาดนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯ ล ฯ สัตว์ตายแล้ว
ไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วจะไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง นี้เรียกว่า พรหม-
จริเยสนา ( แสวงหาพรหมจรรย์" ) ดังนี้ ชื่อว่าพรหมจริเยสนา. มิใช่
เฉพาะภวราคทิฐิอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรม ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน
นั้น ก็จัดเป็นเอสนาเช่นกัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า " บรรดาเอสนา
เหล่านั้น กาเมสนาคืออะไร คือกามราคะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา.
บรรดาเอสนาเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือภวราคะ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า
ภเวสนา บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริเยสนาคืออะไร คือทิฐิที่ยึดถือ
จนสุดเหวี่ยง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความ
หมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในวิธา. การตั้งไว้ซึ่งอาการ ดังเช่นในประโยคว่า
" บัณฑิตกล่าวถึงคนมีศีลว่าเป็นอย่างไร, กล่าวถึงคนมีปัญญาว่าเป็น
อย่างไร" ดังนี้ ชื่อว่า วิธา. ส่วนก็ชื่อว่าวิธา ดังเช่นในประโยคว่า "ญาณ-
วัตถุโดย 1 ส่วน, ญาณวัตถุโดย 2 ส่วน". มานะชื่อว่าวิธา ดังเช่น
ในประโยคว่า "วิธา (มานะ) ว่าเราดีกว่าเขา", ในที่นี้มุ่งหมายเอาวิธา
ที่แปลว่า มานะนั้น. อันที่จริง มานะท่านเรียกว่า วิชา เพราะจัดแจง
ด้วยอำนาจที่ให้ถือว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ด้วยคำว่า เสยฺโย หมสฺมิ นี้
ท่านกล่าวถึงมานะ 3 อย่าง คือดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา. แม้ใน
สทิสวิธา และหีนวิธา ก็มีนัยเดียวกันนี้. ที่จริงมานะนี้มี 9 อย่าง. คือ
คนดีกว่าเขามีมานะ 3 อย่าง คนเสมอเขามีมานะ 3 อย่าง คนเลวกว่าเขา
มีมานะ 3 อย่าง. บรรดามานะ 9 อย่างนั้น สำหรับคนดีกว่าเขา มานะ
ว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต. พระราชาย่อมมี
มานะเช่นนี้ว่า "ใครหรือจะมาสู่เราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทาง
ราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่น
นี้ว่า "ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วยศีลคุณ และธุดงคคุณเป็นต้น".

แม้มานะว่า เราเสมอเขา สำหรับคนดีกว่าเขา ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระราชา
และบรรพชิตนั้นเช่นกัน. พระราชา ย่อมมีมานะเช่นนี้ "อะไรล่ะที่
จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากับราชาอื่น ๆ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทาง
ราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่นนี้
ว่า " อะไรเล่าที่จะมาผิดแผกกัน ระหว่างเรากับภิกษุอื่น ไม่ว่า จะโดย
ศีลคุณหรือธุดงคคุณเป็นต้น". แม้มานะว่าเราเลวกว่าเขา สำหรับคนดี
กว่าเขา ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระราชาและบรรพชิตนั้นเช่นกัน. พระราชา
องค์ใด มีราชอาณาเขต ราชทรัพย์ หรือไพร่พลพาหนะเป็นต้น ไม่สมบูรณ์
มากนัก, พระราชาองค์นั้น ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า " เขาสักแต่เรียกเราว่า
พระราชา ไปอย่างนั้นเอง อย่างเราน่ะรึ ชื่อว่าราชา". ฝ่ายบรรพชิตที่
ลาภสักการะน้อย ก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า " เขาก็เพียงแต่เรียกเราว่า พระ
ธรรมกถึก พหูสูตพระมหาเถระ ไปอย่างนั้นเอง อย่างเรา ไม่มีลาภสักการะ
จะเป็นพระธรรมกถึก เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระไปได้อย่างไร". สำหรับ
คนเสมอเขา มานะว่า เราดีกว่าเขาเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่อำมาตย์เป็นต้น.
อำมาตย์ หรือข้าราชการย่อมมีนานะเช่นนี้ว่า " ข้าราชการอื่น ๆ ใคร
หรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะเป็นทางโภคทรัพย์ หรือทางยานพาหนะ เป็น
ต้น" ดังนี้บ้าง ว่า "อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากันคนอื่น"
ดังนี้บ้าง ว่า "เขาสักแต่เรียกเราว่า อำมาตย์ไปอย่างนั้นเอง แม้เพียง
ของกินและเสื้อผ้าเราก็ไม่มี อย่างเรานี้หรือจะชื่อว่า อำมาตย์" ดังนี้บ้าง.
สำหรับคนเลวกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่คนใช้
เป็นต้น. คนใช้ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ชื่อว่าคนใช้อื่นๆ ใคร หรือจะมา
สู้เราได้ ไม่ว่าจะฝ่ายข้างแม่ หรือว่าฝ่ายข้างพ่อก็ตาม พวกอื่น ๆ น่ะไม่

สามารถจะเลี้ยงชีพอยู่ได้ จึงต้องมาเป็นขี้ข้าเขา แต่เรานี้ดีกว่าเพราะเป็น
คนใช้กับกันมาตามเชื้อสาย " ดังนี้บ้าง, ว่า " อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกัน
ระหว่างเรากับคนใช้คนโน้น ไม่ว่าจะโดยความเป็นคนใช้ สืบกันมาตาม
เชื้อสาย หรือว่าโดยความเป็นคนใช้ขนานแท้ ทางฝ่ายแม่และฝ่ายพ่อ"
ดังนี้บ้าง, ว่า " เราน่ะ ต้องเป็นคนใช้เขาก็เพราะต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
แต่ว่ากันให้ถึงที่สุด พ่อแม่แล้ว เรามิได้มีฐานะเป็นคนใช้เลย อย่างเรา
นะรึจะชื่อว่าเป็นคนใช้ " ดังนี้บ้าง. แม้พวกคนขนขยะ และคนจัณฑาล
เป็นต้น ก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ ดุจเดียวกับคนใช้เหมือนกัน. บรรดามานะ
เหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา, คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอ
เขา และคนเลวกว่าเขา มานะว่า เราเลวกว่าเขา ทั้ง 3 ประเภทนี้ได้ชื่อว่า
เป็นมานะอย่างเข้มข้น จะฆ่าเสียได้ด้วยอรหัตตมรรค. ธรรมที่เหลือ ได้
ชื่อว่าเป็นมานะอย่างไม่เป็นไปตามความจริง ฆ่าเสียได้ด้วยมรรค ชั้นต้น.
คำว่า ตโย อทฺธา หมายถึงกาล 3. ในคำเป็นต้นว่า อตีโต อทฺธา
ปริยาย 2 อย่าง คือ ปริยายแห่งพระสูตร และปริยายแห่งพระอภิธรรม.
โดยปริยายแห่งพระสูตร ก่อนแต่ปฏิสนธิ ชื่อว่าอตีตัทธา ( กาลอดีต ).
ภายหลังแต่จุติ ชื่อว่า อนาคตัทธา ( กาลอนาคต ), ในระหว่างนั้น พร้อม
ทั้งจุติและปฏิสนธิ ชื่อว่า ปัจจุปปันนัทธา ( กาลปัจจุบัน ). โดยปริยายแห่ง
พระอภิธรรม เหนือขึ้นไปจาก ภังคขณะในบรรดาขณะทั้ง 3 ชื่อว่า อตีตัทธา,
ก่อนแต่อุปปาทขณะ ชื่อว่า อนาคตัทธา, ในขณะทั้ง 3 ชื่อว่า ปัจจุปปัน-
นัทธา. อันว่า อัทธา อันต่าง โดยอตีตัทธาเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่ธรรมทั้งหลาย,
มิใช่มีแก่กาลเวลา. แต่อาศัยธรรมอันต่างโดยอตีตัทธาเป็นต้น กาลเวลา

แม้จะไม่มีโดยปรมัตถ์ในที่นี้ ท่านก็เรียก (ว่า อตีตัทธาเป็นต้น) โดยโวหาร
นั้นนั่นเอง. พึงทราบตามที่กล่าวมานี้.
คำว่า ตโย อนฺตา หมายถึงส่วนทั้ง 3. ที่สุดนั่นเอง ชื่อว่าอันตะ
(ริม) ดังเช่นในประโยคว่า " ริม ( หรือชาย ) ผ้ารัดประคต ย่อมเก่าไป".
ส่วนอื่น ชื่อว่า อันตะ ดังเช่นในประโยคว่า "นั่นเป็นส่วนอื่นแห่งทุกข์".
ความเลวทราม ชื่อว่า อันตะ ดังเช่นในพระบาลีนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นความเลวทราม ของการเลี้ยงชีวิต". ส่วน ชื่อว่า อันตะ ดังเช่น
ในประโยคว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สักกายะแล เป็นส่วนที่หนึ่ง." ในที่นี้
หมายเอาอันตะที่แปลว่าส่วน. คำว่า สกฺกาโย หมายถึงอุปาทานขันธ์ ทั้ง 5.
คำว่า สกฺกายสมุทโย หมายถึงตัณหาในเบื้องต้นอันเป็นตัวทำให้เกิด
อุปาทานขันธ์เหล่านั้น. คำว่า สกฺกายนิโรโธ หมายถึงความดับที่ทำให้
อุปาทานขันธ์และตัณหาทั้งคู่นั้นเป็นไปไม่ได้. ส่วนมรรคพึงทราบว่า เมื่อ
กล่าวถึงนิโรธแล้วก็เป็นอันกล่าวถึงด้วยทีเดียว เพราะเป็นอุบายแห่งการ
บรรลุนิโรธ.
คำว่า ทุกฺขทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะเป็นทุกข์. คำนี้เป็นชื่อ
ของทุกขเวทนา คำว่า สงฺขารทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะความเป็น
สังขาร. คำนี้เป็นชื่อของอทุกขมสุขเวทนา. ความเป็นทุกข์เพราะสังขารนั้น
มิความเกิดขึ้น แต่เสื่อมไป ถูกความแตกดับบีบคั้น เพราะเป็นสภาพที่
ถูกปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความเป็นทุกข์เพราะสังขารไว้ โดย
เว้นจากสภาวะแห่งทุกข์อื่น. คำว่า วิปริณามทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะ

แปรปรวนไป. คำนี้เป็นชื่อของสุขเวทนา. แท้จริง เพราะสุขแปรปรวนไป
ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกสุขว่า " ทุกข์เพราะแปรปรวน ".
อีกประการหนึ่ง ธรรมทั้งปวงอันเป็นไปในภูมิ 3 เว้นทุกขเวทนา และ
สุขเวทนาพึงทราบว่า " ทุกข์เพราะสังขาร" โดยพระบาลีว่า "สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์."
คำว่า มิจฺฉตฺตนิยโต คือ เป็นสภาพความผิดที่แน่นอน. คำนี้
เป็นชื่อของอันนตริยกรรม พร้อมทั้งนิยตมิจฉาทิฐิ. ชื่อว่า สัมมัตตนิยตะ
เพราะแน่นอนในสภาพที่ถูกต้อง. คำนี้เป็นชื่อของ อริยมรรค 4. ชื่อว่า
อนิยตะ เพราะไม่แน่นอน. คำนี้เป็นชื่อของธรรมที่เหลือ.
อวิชชา ชื่อว่า ตมะ ( ความมืด ) ในคำว่า ตโย ตมา เพราะ
พระบาลีว่า "ห้วงน้ำคือ อวิชชา ทำให้มืดมิด ลุ่มหลง มีภัยมาก ".
แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงวิจิกิจฉา โดยหัวข้อว่า อวิชชา. คำว่า อารพฺภ
เท่ากับ อาคมฺน ( แปลว่า มาถึง หรือ อาศัย ). คำว่า กงฺขติ ความว่า
ให้เกิด ความสงสัย. คำว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ย่อม
ถึงอาการลังเล ไม่อาจที่จะตกลงใจได้. คำว่า นาธิมุจฺจติ ความว่า ไม่
อาจที่จะน้อมเชื้อในกาลนั้น. บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า ไม่อาจเพื่อ
จะปลูกความเลื่อมใสโดยอาศัยกาลนั้น.
คำว่า อรกฺเขยฺยานิ แปลว่า ไม่ต้องรักษาไว้. ท่านแสดงความหมาย
ว่า ไม่มีหน้าที่จะต้องรักษาเป็นอย่าง ๆ ไป ในทวารทั้ง 3 ทุกอย่างรักษา
ไว้แล้วด้วยสติอย่างเดียว. คำว่า ปฏิจฺฉาเทมิ ความว่า กายทุจริต

ข้อนี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รอบคอบของเรา, เราจะรักษาไว้มิให้คนอื่นรู้.
คำว่า นตฺถิ ตถาคตสฺส ความว่า กายทุจริตที่จะต้องรักษาอย่างนั้น ไม่มีแก่
พระตถาคต. แม้ในส่วนที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ถามว่า พระขีณาสพ
อื่น ๆ มีกายสมาจารเป็นต้น ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ ตอบว่า ไม่ใช่ไม่
บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต. พระขีณาสพที่ฟังมา
น้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่, แต่เพราะไม่ฉลาดใน
พุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ
( คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน ( กับอนุป-
สัมบัน เป็นต้น ). ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ กล่าวธรรม
โดยบท พูดเกินกว่า 5-6 คำ บอกอาบัติที่เป็นจริง ( เป็นต้น ). ย่อม
ต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวารด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่
เขาเก็บไว้เพื่อตน. แม้พระขีณาสพ ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยัง
เกิดมโนทุจริตขึ้นได้ ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะ-
ปาตุเมยยกะ ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และ
พระโมคคัลลานะ ในคราวที่ทรงประณาม พระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับ
ภิกษุประมาณ 500 รูป ในเรื่องปาตุมะ พระเถระ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า." เธอคิดอย่างไร สารีบุตร เมื่อภิกษุสงฆ์ถูกเราประณามแล้ว".
ดังนี้ ก็ให้เกิดความคิดขึ้นว่า "เราถูกพระศาสดาประณาม เพราะไม่ฉลาด
เรื่องบริษัท. ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่สอนคนอื่นละ" จึงได้กราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดอย่างนี้ว่า " ภิกษุสงฆ์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่ แม้เราทั้งสองก็จัก

ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดา
เมื่อจะทรงยกข้อตำหนิ เพราะมโนทุจริตนั้น ของพระเถระ จึงตรัสว่า
"เธอจงรอก่อนสารีบุตร. ความคิดอย่างนี้ไม่ควรที่เธอจะให้เกิดขึ้นอีกเลย
สารีบุตร". แม้เพียงความคิดว่า "เราจะไม่ว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น อย่างนี้"
ก็ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต ของพระเถระ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีพระ
ดำริเช่นนั้น และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
แล้ว จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์. แม้แต่ดำรงอยู่ในภูมิ
แห่งพระโพธิสัตว์ ทรงประกอบความเพียรอยู่ 6 ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต.
แม้เมื่อเหล่าเทวดาเกิดความสงสัยขึ้นอย่างนี้ว่า "หนังท้องติดกระดูกสันหลัง
(อย่างนี้) พระสมณโคดม ถึงแก่การดับสูญ ( เสียละกระมัง )" เมื่อถูก
มารใจบาป กล่าวอยู่ว่า " สิทธัตถะ ท่านจะต้องมาลำบากลำบนทำไม
ท่านสามารถที่จะเสวยโภคสมบัติไปด้วย สร้างบุญกุศลไปด้วยได้" ดังนี้
แม้เพียงความคิดว่า "เราจัก ( กลับไป ) เสวยโภคสมบัติ" ก็ไม่เกิด.
ครั้นแล้ว มารก็ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ถึง 6 ปี ในเวลาที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อีก 1 ปี ก็มิได้เห็น
โทษผิดอันหนึ่งอันใด จึงกล่าวความข้อนี้ไว้ แล้วหลบไป ว่า-
" เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทุกย่างก้าว
ตลอดเวลา 7 ปี ก็มิได้เห็นข้อบกพร่องใด ๆ ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระสติไพบูลย์นั้นเลย"

อีกประการหนึ่ง พึงทราบความไม่มีทุจริตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ด้วยอำนาจแห่งพุทธธรรม 18 ประการ. อันว่าพุทธธรรม 18

ประการ ดังนี้ พระตถาคตไม่มีกายทุจริต 1 ไม่มีวจีทุจริต 1 ไม่มีมโน
ทุจริต 1 พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอดีต 1 พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดใน
อนาคต พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในปัจจุบัน 1 กายกรรมทั้งปวงของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ 1 วจีกรรมทั้งปวงของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ 1 มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ 1 ไม่มีความเสื่อมฉันทะ 1 ไม่มีความ
เสื่อมวิริยะ 1 ไม่มีความเสื่อมสติ 1 ไม่มีการเล่น 1 ไม่มีการวิ่ง 1
ไม่มีความพลาดพลั้ง 1 ไม่มีความผลุนผลัน 1 ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย 1
ไม่มีอกุศลจิต 1.
คำว่า กิญฺจนา หมายถึงปลิโพธ เครื่องกังวล. คำว่า ราโค กิญฺจนํ
มีคำนิยามว่า ราคะ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมผูกมัดขัดข้องสัตว์เอาไว้ (ไม่ให้หลุด
พ้นจากวัฏฏะ ) ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า กิญฺจนะ ( เครื่องข้อง ). แม้ใน 2
บทนอกนี้ก็มีนัยเดียวกันนี้แล.
คำว่า อคฺคิ มีคำนิยามว่า ชื่อว่า อัคคี เพราะอรรถว่า ตามเผา
ไหม้. คำว่า ราคคฺคิ มีคำนิยามว่า ราคะ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมตามไหม้
เผาผลาญสัตว์ให้ร้อน ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า. อัคคี. แม้ใน 2 บทนอกนี้
ก็มีนัยเดียวกันนี้. ในกรณีนั้น มีเรื่อง ( ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง). ภิกษุณี
สาวรูปหนึ่ง ไปยังโรงอุโบสถ ทำจิตตลบรรพตวิหาร ยืนมองร่างของนาย
ทวารบาลอยู่. ครั้นแล้ว ราคะก็เกิดขึ้น ภายในใจของเธอ. เธอถูกราคะ
นั้นเองเผาเอาจนตายไป ( ในขณะที่ยืนอยู่ตรงนั้นเอง ). พวกภิกษุณี เมื่อ
จะกลับ จึงกล่าวขึ้นว่า " ภิกษุณีรูปนี้ ยินดีอยู่ ( ตรงนั้นเอง ), ไปเรียก
เธอมา ". ภิกษุณีรูปหนึ่งเดินไปจับแขนพูดว่า "ยืนทำอะไรอยู่". พอถูก

เข้าร่างภิกษุณีสาวนั้น ก็ล้มพับลงไป. นี้เป็นเรื่องที่ราคะตามเผาเอาก่อน.
ส่วนเรื่องที่โทสะตามเผาเอานั้น ก็อย่างพวกเทวดาประเภทมโนปโทสิกา
( พวกถูกทำร้ายด้วยใจ คือ โกรธขึ้นมาแล้วต้องจุติไป ). เรื่องที่โมหะตามเผา
เอานั้น พึงเห็นอย่างพวกเทวดาประเภทขิฑฑาปโทสิกา ( พวกถูกทำร้าย
ด้วยการเล่น). คือ เทวดาพวกนั้นหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ. เพราะฉะนั้น
พอเลยเวลาอาหารไปแล้ว มัวแต่เที่ยวเล่นอยู่จึงต้องสิ้นชีวิตไป.
พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า อาหุเนยฺยคฺคิ เป็นต้น. เครื่องสักการะ
ท่านเรียกว่าอาหุนะ. บุคคลผู้ควรแก่อาหุนะ ชื่อว่า อาหุไนย. แท้จริง
มารดาบิดา ย่อมควรแก่อาหุนะ เพราะมีอุปการะมากแก่บุตร. บุตรทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติ ผิดพลาดในมารดาบิดา ก็ย่อมไปเกิดในอบาย มีนรกเช่นต้น,
ดังนั้น แม้ว่า มารดาบิดาจะไม่ตามเผาไหม้บุตรก็จริง แต่ก็เป็นต้นเหตุ
แห่งการถูกเผาไหม้. ท่านเรียกว่า อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล)
โดยอรรถว่า ตามเผาไหม้ ด้วยประการดังนี้. ความข้อนี้นั้นพึงทราบด้วย
เรื่องนายมิตตวินทุกะ.
เรื่องมีอยู่ว่า นายมิตตวินทุกะ ถูกมารดากล่าวว่า "ลูกเอ๋ย วันนี้
เจ้าจงรักษาอุโบสถฟังธรรมที่วัดตลอดทั้งคืนเถิด แม่จะให้เจ้าพันหนึ่ง"
ด้วยความอยากได้ทรัพย์ จึงสมาทานอุโบสถไปวัด หมายใจว่า "ที่ตรงนี้
ปลอดภัย" จึงหลบเข้าไปนอนอยู่ใต้ธรรมาสน์ หลับไปตลอดทั้งคืน
(รุ่งเช้า ) ก็กลับบ้าน. ฝ่ายมารดาต้มยาคูไว้ แต่เช้าตรู่ เสร็จแล้วก็ยก
เข้าไปให้. นายมิตตวินทุกะดื่มยาคูทั้ง ๆ ที่ยังกำเงินพันไว้. ต่อมาเขามี
ความคิดขึ้นว่า จะรวบรวมทรัพย์. ก็เลยคิดอยากจะไป ( ค้าขาย ) ทาง

เรือเดินทะเล. ทีนั้น มารดาห้ามเขาไว้ว่า "ลูกเอ๋ย ในตระกูลนี้ มี
ทรัพย์อยู่ถึง 40 โกฏิแล้ว อย่าไปเลย". เขาไม่เอาใจใส่ต่อคำขอร้องของ
มารดา ขืนจะไปให้ได้. มารดาจึงยินขวางหน้าไว้. เขาโกรธมารดาว่า "แม่นี่
มายืนขวางหน้าเราได้ " จึงเตะมารดาล้มลง แล้วเดินข้ามไป. มารดาลุกขึ้น
กล่าวว่า "ลูกเอ๋ย เจ้าคงจะสำคัญว่า ทำกรรมเห็นปานนี้ในคนที่เป็นแม่
อย่างเรา แล้วเดินทางไป จักมีความสุขในที่ที่ไปถึง ". เมื่อนายมิตตวินทุกะ
ลงเรือไป ถึงวันที่ 7 เรือก็หยุด (ขึ้นมาเฉย ๆ ). คนทั้งหลาย (ที่ไปในเรือ)
เหล่านั้นพากันกล่าวว่า " ในเรือลำนี้" มีคนบาปอยู่เป็นแน่ จงจับสลาก
กันดูเถิด " . เมื่อจับสลากกัน ก็ตกอยู่แก่นายมิตตวินทุกะ นั่นเอง ถึง
3 ครั้ง. คนเหล่านั้นก็เอาเขาลงแพ ลอยไปในทะเล. เข้าไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง
เสวยสมบัติอยู่กับพวกนางเวมานิกเปรต เมื่อเปรตพวกนั้นบอกว่า อย่าไป
ต่อ ๆ ไปอีกเลย ก็กลับมองเห็นสมบัติ (ข้างหน้า) เป็นสองเท่าอยู่ร่ำไป
จนกระทั่งได้พบสัตว์ตนหนึ่งมีจักรคม ". (พัดผันอยู่ที่ศีรษะ ). เขาเห็นจักร
นั้นเป็นประหนึ่งดอกบัว. จึงกล่าวกับสัตว์ตนนั้นว่า นี่แม่ท่านจงให้
ดอกบัวที่ท่านประดับอยู่นี้แก่ข้าพเจ้าเถิด". สัตว์นั้นกล่าวว่า " นายเอย นี่แน่
มิใช่ดอกบัวดอก นี่มันจักรคม ". เขากลับพูดว่า " ท่านหลอกข้าพเจ้า,
ดอกบัวทำไมข้าพเจ้าจะไม่เคยเห็น" ดังนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า "ท่านลูบไล้
จันทน์แดงอยู่แล้ว ไม่อยากจะให้ดอกบัวเครื่องประดับแก่ข้าพเจ้า. สัตว์ตน
นั้นคิดว่า "บุรุษผู้นี้คงจะได้ทำกรรมอย่างเดียวกับที่เราทำ จึงอยากจะเสวย
ผลกรรมนั้น". ครั้นแล้ว จึงกล่าวกับนายมิตตวินทุกะ ว่า "เอาเถิด
ข้าพเจ้ายกให้" แล้วเหวี่ยงจักรไปบนศีรษะของเขา. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวไว้ว่า

" ได้สี่แล้วอยากได้แปด ได้แปดแล้วอยากได้สิบหก
ได้สิบหกแล้วอยากได้สามสิบสอง จึงต้องมาทูนจักรไว้

คนที่ถูกความอยากเล่นงานเอา จักรกำลังหมุนอยู่บนหัว".
เจ้าของเรือน ท่านเรียกว่า คฤหบดี คฤหบดีนั้น ชื่อว่า มีอุปการะ
มาก แก่มาตุคาม ด้วยการเพิ่มให้ซึ่งสิ่งของเช่นที่นอน, ผ้าผ่อนเครื่องแต่งตัว
เป็นต้น. มาตุคาม นอกใจคฤหบดี ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น
คฤหบดีนั้น ท่านจึงเรียกว่า คหปตัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดย
นัยก่อนเช่นกัน. ในกรณีนั้น มีเรื่อง ( นี้เป็นตัวอย่าง )-
ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ภริยาของอุบาสกผู้เป็นโสดาบัน
ประพฤตินอกใจ. อุบาสกเห็นเหตุนั้นโดยประจักษ์ จึงกล่าวว่า "เหตุไร
เธอจึงทำอย่างนั้น. ภริยาตอบว่า " ถ้าดิฉันทำเห็นปานนั้น ( จริงอย่างที่ท่าน
ว่า ), ขอให้สุนัขตัวนี้ ทิ้งกัดดิฉันเถิด" ดังนี้แล้ว ตายไปเกิดเป็นเวมานิก-
เปรตที่สระกัณณเมุณฑกะ. กลางวันเสวยสมบัติ กลางคืนเสวยทุกข์. คราว
นั้น พระเจ้าพาราณสี เสด็จล่าเนื้อ เข้าไปในป่า เสด็จไปถึงสระกัณณ-
มุณฑกะ โดยลำดับ ได้เสวยสมบัติอยู่กับนาง. นางเปรตลวงท้าวเธอไป
เสวยทุกข์ในตอนกลางคืน. พระราชาทรงทราบความแล้ว ทรงสงสัยว่า
" นางไปที่ไหนหนอ " จึงเสด็จตามไปข้างหลัง ทรงหยุดอยู่ไม่ห่างนัก
ทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวหนึ่งออกมาจากสระกัณณมุณฑกะ กัดกินนาง
เสียงดังกรุบ ๆ กรับ ๆ อยู่ จึงทรงฟันด้วยพระแสงดาบ ขาดสองท่อน. สุนัข
กลับเพิ่มขึ้นเป็น 2. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เป็น. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่ม
เป็น 8. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่มขึ้นเป็น 16. นางทูลว่า "สวามี พระองค์

ทรงทำอะไร". ท้าวเธอตรัสว่า "นี้อะไรกัน". นางทูลว่า พระองค์
อย่าทำอย่างนั้น จงทรงถ่มก้อนเขฬะลงบนพื้นแล้วขยี้ด้วยพระบาท".
ท้าวเธอทรงทำตามที่นางทูลบอก. สุนัขทั้งหลายก็หายไป. วันนั้นพอดีนาง
สิ้นกรรม พระราชาไม่ทรงสบายพระทัย จึงทรงเริ่มจะเสด็จกลับ. นาง
ทูลว่า " สวามี กรรมของหม่อมฉันสิ้นแล้ว อย่าเสด็จไปเลย". พระราชา
ไม่ทรงฟัง เสด็จไปจนได้. ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ นี้ คำว่า ทกฺขิณา
คือปัจจัย 4. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะ
มากเเก่คฤหัสถ์ ด้วยการชักนำ ให้ประพฤติในกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นต้นว่า สรณะ 3 ศีล 5 ศีล . การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุง
สมณพราหมณ์ผู้มีธรรม. คฤหัสถ์ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอ
ภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็
เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน.
และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรตโดยละเอียด
ด้วย.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ติวิเธน รูปสงฺคโห นี้ต่อไป. คำว่า ติวิเธน
แปลว่า 3 ส่วน. คำว่า สงฺคโห หมายเอาสังคหะ 4 อย่างคือ ชาติสังคหะ
สัญชาติสังคหะ กิริยสังคหะ และคณนสังคหะ. บรรดาสังคหะ 4 อย่างนั้น
การรวบรวมเป็นต้นว่า " กษัตริย์ทั้งปวงจงมา " ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ
(รวบรวมตามชาติกำเนิด ). การรวบรวมเป็นต้นว่า " ชาวโกศล ทั้งหมด
จงมา" ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ ( รวบรวมตามสัญชาติ ). การรวบรวม
เป็นต้นว่า " ควาญช้างทั้งหมด จงมา" ดังนี้ ชื่อว่า กิริยสังคหะ ( รวบรวม
ตาม อาการที่ทำ ). การรวบรวมนี้ว่า " ถามว่า อายตนะ คือ จักษุ

นับเข้าในขันธ์ไหน ตอบว่า อายตนะ คือ จักษุ นับเข้าในรูปขันธ์
พระสกวาทีกล่าวว่า ถ้าอายตนะ คือ จักษุนับเข้าในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้น
ก็ควรจะกล่าวว่า
อายตนะคือ จักษุ สงเคราะห์เข้าด้วยรูปขันธ์" ดังนี้
ชื่อว่า คณนสังคหะ (รวบรวมตามการนับเข้าได้ ). คณนสังคหะนั้น
มุ่งหมายเอาในที่นี้ . เพราะฉะนั้น คำว่า ติวิเธน รูปสงฺคโห จึงมีความหมาย
ว่า การนับรูปเป็น 3 ส่วน. พึงทราบวินิจฉัยในสนิทัสสนะ เป็นต้น. รูป
พร้อมทั้งนิทัสสนะ กล่าวคือจักษุวิญญาณที่เป็นไปปรารภตน ชื่อว่า
สนิทัสสนะ รูปพร้อมทั้งปฏิฆะ เพราะสามารถที่จะกระทบจักษุ ชื่อว่า
สัปปฏิฆะ. สัปปฏิฆะนั้น โดยความหมาย ก็คือรูปายตนะนั่นเอง. นิทัสสนะ
กล่าวคือ จักษุวิญญาณของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า อนิทัสสนะ. รูป
พร้อมทั้งปฏิฆะ เพราะสามารถที่จะกระทบโสต ชื่อว่า สัปปฏิฆะ. สัปปฏิฆะ
นั้น โดยความหมาย ก็คือ อายตนะ 9 มีอายตนะคือจักษุเป็นต้น.
นิทัสสนะมีประการดังกล่าวมาแล้ว ของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า
อนิทัสสนะ. ปฏิฆะของรู้นั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า อัปปฏิฆะ. อัปปฏิฆะนั้น
โดยความหมาย ก็คือ สุขุมรูปที่เหลือ ยกเว้นอายตนะ 10.
คำว่า ตโย สงฺขารา มีคำนิยามว่า ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงขึ้น
คือทำให้เป็นกลุ่มขึ้น ซึ่งธรรมที่เกิดร่วมกัน และธรรมที่มีผลในกาลต่อไป.
ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง. อภิสังขารคือบุญ ชื่อว่า
ปุญญาภิสังขาร.
คำว่า ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นชื่อของมหาจิตเจตนา อันเป็น
กามาวจรกุศล 8 ดวง และเจตนาอันเป็นรูปาวจรกุศล 5 ดวง ที่ท่านกล่าว
ไว้อย่างนี้ว่า " บรรดาอภิสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ กุศล
เจตนา เป็นกามาวจร รูปาวจร สำเร็จด้วยทาน สำเร็จด้วยศีล สำเร็จ

ด้วยภาวนา". บรรดาเจตนาเหล่านั้น เฉพาะเจตนา 8 ดวง สำเร็จด้วย
ทาน สำเร็จด้วยศีล . ทั้ง 3 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา. อุปมาเหมือนบุคคล
สาธยาย ธรรมที่ตนคล่อง แม้จะว่าไป 1 หรือ 2 หัวข้อแล้ว ก็ไม่รู้ ภายหลัง
ระลึกขึ้นมา จึงรู้ ฉันใด ท่านผู้ทำกสิณบริกรรม พิจารณาฌานที่ตนคล่อง
อยู่ภาวนาก็ย่อมเป็นญาณวิปยุต (ไม่ประกอบด้วยความรู้) ได้บ้าง ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯ ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวว่า "ทั้ง 13 ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ่.่
บรรดาปุญญาภิสังขารที่สำเร็จด้วยทานเป็นต้นนั้น ความตั้งใจ จำนงจงใจ
ที่ปรารภทาน เกิดขึ้น มีทานเป็นหลัก นี่ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขารที่
สำเร็จด้วยทาน ความตั้งใจจำนง จงใจที่ปรารภศีล ปรารภภาวนาเกิดขึ้น
มีภาวนาเป็นหลัก นี้ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขารที่สำเร็จด้วยภาวนา. ดัง
กล่าวมานี้ เป็นสังเขปเทศนา. เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง 3 ของผู้ถวายสิ่ง
ของนั้น ๆ ในจำพวกปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้น อารมณ์ 6 มีรูปารมณ์เป็นต้น
หรือทานวัตถุ 10 อย่างมีข้าวเป็นต้น คือในกาลเบื้องต้น ตั้งแต่ยังสิ่งของ
เหล่านั้นให้เกิดขึ้น ในกาลขณะกำลังบริจาค 1 ในกาลที่หวนระลึกในภาย
หลังด้วยจิตโสมนัส ดังนี้ ชื่อว่า ทานมัยเจตนา (เจตนาที่สำเร็จด้วยทาน)
ส่วนเจตนาที่เป็นไปแล้ว ของท่านผู้ไปวัดด้วยตั้งใจว่า " จักบวชบำเพ็ญศีล".
ของผู้กำลงบวช ของผู้ยังมโนรถ ให้ถึงที่สุดแล้ว หวนระลึกว่า "เราบวช
แล้วหนอ สำเร็จประโยชน์ด้วยของผู้สำรวมพระปาฏิโมกข์ ของผู้พิจารณา
ปัจจัยทั้งหลาย มีจีวรเป็นต้น ของผู้สำรวมทวารมีจักษุทวารเป็นต้นใน
อารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่มาถึงเข้า และของผู้ชำระอาชีวะให้หมดจด ( ดังนี้)
ชื่อว่า สีลมัยเจตนา ( เจตนาที่สำเร็จด้วยศีล ). เจตนาที่เป็นไปแล้ว ของ
ท่านผู้อบรมจักษุ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ด้วยวิปัสสนา.

มรรค ที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา ของท่านผู้อบรมใจ ฯลฯ ของท่านผู้อบรม
จักษุวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ในรูปารมณ์ ในธรรมารมณ์
ของท่านผู้อบรมรูปสัญญา ฯลฯ ชรามรณะ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตาชื่อว่า ภาวนามัยเจตนา ( เจตนาที่สำเร็จด้วยภาวนา). ดังกล่าว
มานี้ เป็นวิตถารกถา. อภิสังขารนั้นด้วย มิใช่บุญ (เป็นบาป) ด้วย
ดังนั้น จึงชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร ( อภิสังขารอันเป็นบาป ). คำว่า
อปุญญาภิสังขารนี้เป็นชื่อของเจตนา ที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต. สมดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า "บรรดาอภิวังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ
อกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร". ที่ชื่อว่า
อาเนญชาภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง ซึ่งอรูปนั่นเองที่เป็นวิบาก ไม่
หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน สงบ. คำว่า อาเนญชาติสังขารนี้ เป็นชื่อของ
กุศลเจตนาอันเป็นอรูปาวจร 4 ดวง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า " บรรดา
อภิสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขารคืออะไร คือกุศลเจตนา อันเป็น
อรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร".
พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลัตติกะ ต่อไป. บุรุษบุคคล 7 ชนิด ย่อม
ศึกษาไตรสิกขา ดังนั้น จึงชื่อว่าเสกขะ ( ผู้ยังต้องศึกษา ). พระขีณาสพ
ไม่ต้องศึกษาอีกเพราะศึกษาไตรสิกขาจบแล้ว ดังนั้น จึงชื่อว่า อเสกขะ
( ผู้ไม่ต้องศึกษา ). ปุถุชน ชื่อว่า เสกขะก็ไม่ใช่ อเสกขะก็ไม่ใช่ เพราะ
อยู่ภายนอก จากสิกขาทั้งหลาย. พึงทราบวินิจฉัยในเถรัตติกะต่อไป. ท่าน
เป็นผู้ใหญ่โดยชาติ ชื่อว่า คิหิชาติเถระ. ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมอย่าง
เดียว หรือหลายอย่าง ในบรรดาธรรมทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ 4 ประการเหล่านี้ คือ
พระเถระในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ได้ฌาน 4 เพราะสิ้น
อาสวะทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงพร้อมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำ
ให้เป็นเถระ 4 ประการเหล่านี้แล " ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมเถระ. ท่านผู้มี
ชื่อว่าเถระอย่างนี้ คือ "ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ชื่อว่า พระเถระ" ก็ดี
คนทั้งหลายเห็นนักบวชเช่นสามเณรเป็นต้น ที่บวชเวลามีอายุมากแล้ว
เรียกขานว่า " พระเถระ พระเถระ" ก็ดี นี้ชื่อว่า สมมติเถระ.
พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป. ทานนั่นเอง ชื่อว่า ทานมัย
การทำบุญนั้นด้วย วัตถุ ( คือที่ตั้ง ) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย ดังนั้น
จึ่งชื่อ บุญญกิริยาวัตถุ ( ที่ตั้งแห่งการทำบุญ) แม้ในบุญญกิริยาวัตถุ ข้ออื่น ๆ
ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง
เหล่านี้ พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา ( ความตั้งใจก่อนและทำ ) และอปรภาค
เจตนา ( ความตั้งใจภายหลังจากทำแล้ว ) ด้วยอำนาจแห่งเจตนาที่สำเร็จ
ด้วยทานเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น. และในเรื่องนี้ บุคคลทำกรรม
อย่างหนึ่ง ๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม เมื่อ
เปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม. เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่ง
กาย และองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรม
อีกนัยหนึ่ง สำหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าวเป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้า
ให้อันนทาน ( ให้ข้าว ) เป็นต้นก็ดี ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้ว ให้ก็ดี
จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยทาน. ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็น
บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลเริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไป เสื่อมไป
แล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา. บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่น

มีอีก 7 อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุอันประกอบด้วยความเคารพยำเกรง
ประกอบด้วยการขวนขวาย ( ช่วยทำกิจของผู้อื่น ) การให้ส่วนบุญ การ
อนุโมทนาส่วนบุญ อันสำเร็จด้วยการแสดงธรรม อันสำเร็จด้วยการฟัง
ธรรม บุญกิริยาวัตถุคือ การทำความเห็นให้ตรง ดังนี้. บรรดาบุญกิริยา
วัตถุทั้ง 7 นั้น ความเคารพ ยำเกรง พึงทราบ โดยอาการเช่น เห็น
พระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน
ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้าน เพื่อบิณฑบาตแล้ว ถือบาตรไปชักชวน รวบรวม
ภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า "ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา"
ดังนี้แล้ว เร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น. การให้ส่วนบุญพึงทราบ ด้วยการ
ที่ถวายปัจจัย 4 แล้ว ( ตั้งจิตอุทิศ ) ให้เป็นไปว่า "ส่วนบุญจะมีแก่สรรพ
สัตว์". การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบ ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
ที่ผู้อื่นให้ว่า "สาธุ ถูกดีนักแล้ว". ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนา
ว่า " คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยอุบายอย่างนี้" เป็นผู้
หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก. ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตน
คล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จ
ด้วยการแสดงธรรม. บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรม ก็ฟังด้วยความมุ่งหมาย
ว่า "คนทั้งหลาย จักได้รู้จักเราว่า มีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้" ข้อนั้น
ไม่มีผลมาก. บุคคลผู้หนึ่ง ฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่า จัก
มีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้" นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการ
ฟังธรรมส่วนการทำความเห็นให้ตรงเป็นลักษณะกำหนดสำหรับบุญกิริยา

วัตถุทุกอย่าง. ที่จริง คนทำบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความ
เห็นตรงนั่นเอง.บุญกิริยาวัตถุ 7 อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่า รวมเข้าได้
กับบุญกิริยาวัตถุ 3 อย่างข้างต้นนั่นเอง ด้วยประการดังนี้. ในที่นี้ ความ
เคารพ ยำเกรง และการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น ) รวมลงได้
ในสีลมัยบุญกิริยาวัตถุ. การให้ส่วนบุญ และการอนุโมทนาส่วนบุญ รวม
ลงได้ในทานมัยบุญกิริยาวัตถุ, การแสดงธรรม และการฟังธรรม รวมลง
ได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ การทำความเห็นให้ตรง รวมลงได้ทั้ง
3 อย่าง.
คำว่า โจทนาวตฺถูนิ หมายถึงเหตุที่จะโจท ( กล่าวหา ) กัน.
คำว่า ทิฏฺเฐน หมายความว่า เห็นความผิดด้วยตาเนื้อก็ตาม ด้วยตาทิพย์
ก็ตาม แล้วโจทขึ้น. คำว่า สุเตน หมายความว่า ได้ยินเสียง ( เล่าอ้าง )
ของผู้อื่น ด้วยหูธรรมดาก็ตาม ด้วยหูทิพย์ก็ตาม แล้วโจทขึ้น. คำว่า
ปริสงฺกาย หมายความว่า โจทขึ้นด้วยความสงสัย เพราะได้เห็นมา ก็ตาม
ด้วยความสงสัย เพราะได้ยินมาก็ตาม ด้วยความสงสัยเพราะได้ทราบมา
ก็ตาม. นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. ส่วนรายละเอียดพึงทราบตามนัยที่
ได้กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกานั่นแล.
บทว่า ผู้เข้าถึงกาม หมายความว่า ผู้เข้าไปเสพกาม หรือได้
เฉพาะกาม. บทว่า ผู้มีกามปรากฏแล้ว ได้แก่ ผู้มีกามผูกมัดไว้ คือ ผู้มี
อารมณ์ผูกมัด. คำว่าเปรียบเหมือนมนุษย์ คือ เหมือนพวกมนุษย์. เพราะว่า
พวกมนุษย์ ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันเท่านั้น มีจิตปฏิพัทธ์
ในมาตุคามคนใด ก็ให้เงินร้อยหนึ่งบ้าง สองร้อยบ้าง แล้วนำมาตุคาม

นั้นมาบริโภคโภคะที่ผูกพัน. เทพยดาผู้อยู่ในเทวโลก 4 เหล่า ชื่อว่า เทพยดา
บางพวก. แม้เทพยดาเหล่านั้น ก็ยังอำนาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันนั้น
และ. เทพดาที่เหลือ เว้นพวกสัตว์นรก ชื่อว่า พวกวินิบาต. เพราะ
แม้ปลา และเต่า เป็นต้นก็ยังอำนาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันนั้นแหละ
อธิบายว่า ปลาก็ยังอำนาจให้เป็นไปกับนางปลา เต่าก็ยังอำนาจให้เป็นไป
กับนางเต่า. สองบทว่า เนรมิตแล้ว ๆ ความว่า เนรมิตรูปนั้นๆ ที่ปรารถนา
สำหรับตน โดยเป็นรูปสีเขียว และรูปสีเหลืองเป็นต้น เหมือนเทวดา
เหล่ามนาปกายิกา เนรมิตรูปไว้ข้างหน้าท่านพระอนุรุทธะฉะนั้น. บทว่า
นิมฺมานรตี ความว่า ชื่อว่าเทวดาเหล่านิมมานรดี เพราะอรรถว่า เทวดา
เหล่านั้น ยินดีในของเนรมิตที่ตนเนรมิตแล้ว ๆ อย่างนั้น. บทว่า
ปรนิมฺมิตกามา แปลว่า ผู้มีกามที่ผู้อื่นเนรมิตให้. เพราะว่า เทวดาพวก
อื่นรู้ใจของเทวดาเหล่านั้น แล้วก็เนรมิตกามโภคะตามที่ชอบใจให้ เทวดา
เหล่านั้น ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามโภคะนั้นนั่นแหละ. ถามว่า ผู้อื่น
รู้ใจของคนอื่นได้อย่างไร. ตอบว่ารู้ได้ด้วยอำนาจการเสพใช้ตามปกติ
อุปมาเหมือนพ่อครัวผู้ฉลาด เมื่อพระราชาเสวยอยู่ย่อมรู้ได้ว่า พระราชา
พระองค์นั้นทรงรับสิ่งใด ๆ มาก พระองค์ย่อมโปรดสิ่งนั้น ๆ. ผู้อื่นรู้อารมณ์
ที่เขาชอบใจมากตามปรกติด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จึงเนรมิตอารมณ์เช่นนั้น
นั้นแลให้ พวกเขาย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในสิ่งที่เขาเนรมิตให้นั้น คือ
เสพเมถุน. ส่วนพระเถระบางท่านกล่าวว่า กามกิจย่อมสำเร็จแก่พวกเขา
ด้วยอาการสักว่าหัวเราะ สักว่ามองดูและสักว่าการสรวมกอด. คำของพระ
เถระบางท่านนั้น ถูกคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่าคำที่กล่าวนั้นไม่มี. กามกิจ
ที่จะพึงตูกต้องจะสำเร็จแก่ผู้ไม่ถูกต้องด้วยกาย หามิได้. เพราะว่า กามทั้ง

หลายของเหล่าเทพชั้น ฉกามาวจร เป็นไปตามปรกติเหมือนกัน. สมจริงดัง
ที่ตรัสไว้ว่า
เทพเหล่ากามาวจรหกชั้นเหล่านั้น พรั่ง
พร้อมด้วยการทั้งปวง อายุของเทพเหล่านั้น
เมื่อนับรวมกันจะเป็นเท่าไร.

บทว่า สุขูปปตฺติโย แปลว่า ผู้ได้เฉพาะสุข. คำว่า อุปฺปาเทตฺวา
อุปฺปาเทตฺวา สุขํ วิหรนฺติ
ความว่า ยังความสุขในปฐมฌานให้เกิดขึ้น
ในขั้นต่ำ แล้วเสวยความสุขในฌานอันเป็นตัววิบากในชั้นสูง. สองบทว่า
สุเขน อภิสนนา แปลว่า ชุ่มฉ่ำด้วยสุข ในทุติยฌาน. บทว่า ปริสนฺนา
แปลว่า ชุ่มฉ่ำโดยทั่วถึง. บทว่า ปริปูรา แปลว่า บริบูรณ์. บทว่า
ปริปฺผุฏา เป็นไวพจน์ของคำว่า ปริปูรา นั้นนั่นแหละ. แม้คำนี้ที่ว่า
สุขหนอ สุขหนอ ก็ทรงตรัสหมายเอาความสุขอันเป็นตัววิบาก นั้นนั่งเอง.
ได้ยินว่า เทพเหล่านั้น เกิดความโลภในภพมากชั้น เพราะฉะนั้น จึงเปล่ง
อุทานอย่างนั้นในที่บางแห่ง ในบางเวลา. บทว่า สนฺตเมว แปลว่า ประณีต
แท้. บทว่า สนฺตุสิตา หมายความว่า เป็นผู้สันโดษ เพราะไม่ต้องการ
สุขยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. สองบทว่า สุขํ ปฏิเวเทนฺติ แปลว่า เสวยสุขใน
ตติยฌาน.
ปัญญาของพระอริยเจ้า 7 พวก ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาของ
พระอรหันต์เป็นอเสกขปัญญา ปัญญาที่เหลือ เป็นเนวเสกขานาเสกขปัญญา
( เป็นเสกขปัญญาก็ไม่ใช่ เป็นอเสกขปัญญาก็ไม่ใช่ ). ในปัญญาที่สำเร็จ
ด้วยความคิด เป็นต้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้ ที่ว่าบรรดาปัญญาเหล่านั้น

ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิดเป็นไฉน ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไป
ด้วยปัญญา หรือในบ่อเกิดของศิลปะ ที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา หรือใน
สถานที่ของวิชาที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา บุคคลไม่ได้ฟังมาแต่ผู้อื่น กลับ
ได้กัมมัสสกตาญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมิกขันติ ทิฐิ รุจิ
มุนิ เปกขะ ธัมมนิชฌานขันติ เห็นปานนี้ อันใดว่ารูปไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา ในปัญญา 3 ประการนั้น
ปัญญาที่สำเร็จด้วยการฟังเป็นไฉน ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไป
ด้วยปัญญา ได้ฟังจากผู้อื่นเท่านั้น จึงกลับได้ ฯลฯ ธัมมนิชฌานขันติ
นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา ในปัญญา 3 ประการนั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วย
การเจริญภาวนาเป็นไฉน ปัญญาแม้ทั้งหมดของผู้เข้าสมาบัติชื่อว่า ภาวนา-
มยปัญญา.
บทว่า สุตาวุธํ ได้แก่ อาวุธ คือ สุตะ. อาวุธ คือ สุตะนั้น
โดยใจความได้แก่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก. เพราะว่า ภิกษุอาศัย
อาวุธนั้น คือ อาศัยอาวุธ 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ครั้นคร้าม ข้ามล่วง
สังสารกันดารได้ เหมือนทหารกล้า ไม่ครั่มคร้ามข้ามล่วงมหากันดารได้
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นแหละ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้ง
หลายอริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล ทำกุศลให้เจริญ ละสิ่งที่
มีโทษ ทำสิ่งที่ไม่มีโทษให้เจริญ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ดังนี้ . บทว่า
ปวิเวกาวุธํ ความว่า อาวุธ คือ วิเวก แม้สามประการนี้คือ กายวิเวก
จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. วิเวก 3 ประการนั้นมีการกระทำต่าง ๆ กัน. กายวิเวก
สำหรับบุคคลผู้มีกายหลีกออกไป ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวกสำหรับบุคคล

ผู้มีจิตบริสุทธิ์ บรรลุถึงความผ่องแผ้วอย่างยอด และอุปธิวิเวกสำหรับบุคคล
ผู้ไม่มีอุปธิ ถึงซึ่งวิสังขาร (คือพระนิพพาน). ก็บุคคลผู้ยินดียิ่งแล้วในวิเวก
3 อย่างนี้ ย่อมไม่กลัวแต่ที่ไหน ๆ เพราะฉะนั้น วิเวกแม้นี้ก็เรียกว่าอาวุธ
เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งอาศัยอาวุธคือปัญญา อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ.
จัดเป็นอาวุธ คือปัญญา. เพราะว่า บุคคลผู้มีอาวุธ คือ ปัญญานั้น ย่อมไม่
กลัวแต่ที่ไหนๆ ทั้งใครๆ ก็ไม่กลัวบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาแม้นั้นก็
เรียกว่า อาวุธ เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งอาศัย .
บทว่า อนญฺญตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ ความว่า อินทรีย์ที่เกิดขึ้น
แก่ผู้ปฏิบัติด้วยหวังว่า เรารู้จักธรรมที่ยังไม่รู้ ยังไม่แจ้งในกาลก่อนแต่นี้.
คำว่า อนญฺญตญฺญตสฺสามีตินฺทฺริย นี้ เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ.
บทว่า อญฺญินฺทฺริย ได้แก่ อินทรีย์อันเป็นความรู้ทั่วถึง คือ เป็นความรู้.
คำว่า อญฺญินฺทฺริย นี้เป็นชื่อของญาณ ในฐานะ 6 ประการ เริ่มแต่โสดา-
ปัตติผลไป. บทว่า อญฺญาตาวินฺทฺริยํ นี้ ได้แก่ อินทรีย์ในธรรมทั้ง
หลายที่เป็นของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ อันถึงที่สุดกิจของการรู้. คำว่า อญฺญาตา-
วินฺทฺริยํ
นี้เป็นชื่อของอรหัตตผลญาณ.
มังสจักขุ ได้แก่ จักขุประสาท. ทิพยจักขุ ได้แก่ ญาณอาศัย
แสงสว่าง ปัญญาจักขุ ได้แก่ ปัญญาอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ.
พึงทราบวินิจฉัยในอธิสีลสิกขาเป็นต้นต่อไป. ศีลอันยิ่งนั้นด้วย
ชื่อว่า สิกขา เพราะจะต้องศึกษาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิสีล-
สิกขา. แม้ในสิกขาทั้ง 2 นอกนั้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอธิสีลสิกขา
เป็นต้นนั้น ศีล คือศีลอันยิ่ง จิต คือจิตอันยิ่ง ปัญญา ก็คือปัญญาอันยิ่ง
เพราะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันเพียงเท่านี้. ศีล 5 และ ศีล 10 ชื่อว่า

ศีล. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ชื่อว่า ศีลอันยิ่ง. สมาบัติ 8 จัดเป็นจิต
(สมาธิ). ฌานอันเป็นบาทของวิปัสสนา จัดเป็นจิตอันยิ่ง. กัมมัสสกตา-
ญาณ จัดเป็นปัญญา. วิปัสสนา จัดเป็นปัญญาอันยิ่ง. เพราะว่าศีล 5
และศีล 10 ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลแม้ยังไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุนั้น ศีล 5
ศีล 10 จึงคงเป็นศีลนั้นแหละ. ปาติโมกขสังวรศีล ย่อมมีเฉพาะในพุทธุป-
บาทกาลเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปาติโมกขสังวร จึงจัดเป็นศีลอันยิ่ง. แม้
ในจิตและปัญญาก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ศีล 5 ก็ดี ศีล 10 ก็ดี
ที่บุคคลปรารถนาพระนิพพานสมาทานแล้ว จัดเป็นศีลอันยิ่งเหมือนกัน
แม้สมาบัติ 8 ที่บุคคลเข้าแล้ว ก็จัดเป็นจิตอันยิ่งเหมือนกัน. หรือว่า
โลกิยศีลทั้งหมด เป็นศีลเท่านั้น. ( ส่วน ) โลกุตตรศีล เป็นศีลอันยิ่ง.
แม้ในจิตและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในภาวนา ต่อไป. กายอันเป็นไปในทวาร 5 ของ
พระขีณาสพ ชื่อว่า กายภาวนา. สมาบัติ 8 ชื่อว่า จิตตภาวนา.
ปัญญาในอรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาภาวนา. ก็พระขีณาสพย่อมเป็นผู้
อบรมกายอันเป็นไปในทวาร 5 มีดีแล้ว โดยส่วนเดียว. สมาบัติ 8 ของ
ท่านก็ไม่ทุรพลเหมือนของคนอื่น. และปัญญาของท่านเท่านั้น ชื่อว่า
อบรมแล้วเพราะความไพบูลย์ด้วยปัญญา. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว
อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยะต่อไป. วิปัสสนาจัดเป็นทัสสนานุต-
ตริยะ มรรคจัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ ผลจัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ. หรือว่า ผล
เป็นทัสสนานุตตริยะ มรรคเป็นปฏิปทานุตตริยะ นิพพานเป็นวิมุตตานุต-
ตริยะ. หรือว่า นิพพานจัดเป็นทัสสนานุตตริยะ เพราะว่า ธรรมดาสิ่งที่จะ
พึงเห็นที่ยิ่งไปกว่าพระนิพพานนั้น ย่อมไม่มี มรรคจัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ

ผลจัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ. คำว่า อนุตฺตริยํ แปลว่า สูงสุด คือเจริญที่สุด.
พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิต่อไป. สมาธิในปฐมฌาน ที่ทั้งวิตกและ
วิจาร. โดยปัญจกนัย สมาธิในทุติยฌาน ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร. สมาธิที่
เหลือ ( จากสมาธิในทุติยฌาน ) ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร. กถาในสุญญตะ
เป็นต้น มี 3 อย่างคือ โดยความสำเร็จ โดยคุณของตน โดยอารมณ์.
ภิกษุรูปหนึ่ง ยึดถือโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ออกไป (คือหลุดพ้น) โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า (สุญญตะ) โดยความ
สำเร็จ. วิปัสสนาของท่านชื่อว่า เป็นสุญญตะ เพราะเหตุไร. เพราะกิเลส
ตัวกระทำไม่ให้เป็นสุญญตะไม่มี. มรรคสมาธิ ชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะ
สำเร็จด้วยวิปัสสนา ผลสมาธิ ชื่อว่า เป็นสุญญตะ เพราะสำเร็จด้วยมรรค.
รูปอื่นอีก ยึดถือโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
แล้วออกไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็น อนิมิต
ตะ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำนิมิต. มรรคสมาธิ ชื่อว่า เป็น
อนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา ผล ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดย
มรรค. รูปอื่นอีก ยึดมั่นโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์ แล้ว
ออกไป ( หลุดพ้น ) โดยความเป็นทุกข์. วิปัสสนาของท่านชื่อว่า เป็น
อัปปณิหิตะหาที่ตั้งมิได้. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสตัวที่กระทำปณิธิที่
ปรารถนา. มรรคสมาธิ ชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา
ผลชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ. เพราะสำเร็จโดยมรรค กถาโดยความสำเร็จมีเท่า
ที่พรรณนามานี้แล. ก็มรรคสมาธิ ชื่อว่า สุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะ
เป็นต้น ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีราคะ เป็นนิมิตเป็นต้น ชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีราคะเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นต้น กถาโดยคุณของตน

มีเท่าที่พรรณนามานี้แล. พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ อนิมิตตะ และ
อัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะ เป็นต้น และเพราะไม่มรราคะเป็นต้น
เป็นเครื่องหมาย แล้วเป็นที่ตั้งอาศัย. มรรคสมาธิ ซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอา-
รมณ์ จึงเป็นสุญญตะอนิมิตตะ อัปปณิหิตะ.กถาว่าโดนอารมณ์มีเพียงเท่านี้.
ธรรมอันทำความสะอาด คือปฏิปทาแห่งความสะอาด ชื่อว่า โสเจยฺ-
ยานิ.
ก็ในข้อที่ว่าด้วยความสะอาดนี้ พึงทราบความพิสดารด้วยอำนาจ
สุจริต 3 ซึ่งตรัสไว้โดยนัยมีอาทิดังนี้ว่า ในความสะอาด 3 อย่างนั้น ความ
สะอาดทางกาย เป็นไฉน คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.
ธรรมอันทำความเป็นมุนีได้แก่ โมเนยฺยปฏิปทา ชื่อว่า โมเนยฺยานิ.
ความพิสดารแห่งธรรมอันทำความเป็นมุนีเหล่านั้น ดังนี้ว่า ในความเป็น
มุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางกาย เป็นไฉน คือการละกายทุจริต 3 อย่าง
เป็นกายโมเนยยะ กายสุจริต 3 อย่าง เป็นกายโมเนยยะ ญาณมีกายเป็น
อารมณ์ เป็นกายโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยการกำหนดรู้กายเป็นกาย
โมเนยยะ การละฉันทราคะในกาย เป็นกายโมเนยยะ การเข้าจตุตถฌาน
อันดับเสียซึ่งกายสังขาร เป็นกายโมเนยยะ ในความเป็นมุนีเหล่านั้น
ความเป็นมุนีทางวาจาเป็นไฉน การละวจีทุจริต 4 เป็นวจีโมเนยยะ
วจีสุจริต 4 ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ มรรคอันสหรคต ด้วยการกำหนดรู้
วาจา การละฉันทราคะในวาจา การเข้าทุติยฌาน อันดับเสียซึ่งวจีสังขาร
เป็นวจีโมเนยยะ. ในความเป็นมุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางใจเป็นไฉน
การละมโนทุจริต 3 เป็นมโนโมเนยยะ มโนสุจริต 3 ญาณมีใจเป็นอารมณ์
มรรคอันสหรคตด้วยการกำหนดรู้ใจการละฉันทราคะในใจ การเข้าสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติ อันดับเสียซึ่งจิตตสังขาร เป็นมโนโมเนยยะ
พึงทราบวินิจฉัยในความเป็นผู้ฉลาดต่อไป. ความเจริญชื่อว่า อายะ
ความไม่เจริญชื่อว่า อปายะ. เหตุแห่งความเจริญ และไม่เจริญนั้น ๆ เป็น
อุบาย. ความรู้ทั่วถึงความเจริญ ความไม่เจริญ และเหตุแห่งความเจริญ
และไม่เจริญ เหล่านั้น เป็นความฉลาด. ก็ความพิสดารตรัสไว้ในวิภังค์
นั่นแล. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ในความฉลาดเหล่านั้น ความฉลาดในความ
เจริญเป็นไฉน ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความเห็นชอบในความเจริญนั้น
อันใดว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด
ขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ก็หรือว่า เมื่อเรามนสิการถึง
ธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ในความ
ฉลาดเหล่านั้น ความฉลาดในความไม่เจริญเป็นไฉน ปัญญา ความรอบรู้
ฯ ลฯ ความเห็นชอบในความไม่เจริญนั้น อันใดว่า เมื่อเรามนสิการถึง
ธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด และกุศลที่เกิดแล้ว ย่อม
ดับไป ก็หรือว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญภาพ เพื่อ
ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้
ฉลาดในความไม่เจริญ ปัญญาอันเป็นอุบาย ในความเจริญ และความไม่
เจริญนั้น แม้ทั้งหมด เป็นความฉลาดในอุบาย ดังนี้. ก็ความฉลาดใน
อุบายนี้ พึงทราบด้วยอำนาจการรู้เหตุแห่งฐานะที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขกิจรีบ
ด่วนหรือภัยนั้น ในตอนที่กิจรีบด่วนหรือภัยเกิดขึ้น.

บทว่า มทา แปลว่า เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอาการมัวเมา. ใน
บรรดาความมัวเมาเหล่านั้น การกระทำมานะอย่างนี้ว่า เราเป็นคนไม่มีโรค
ตั้ง 60 หรือ 70 ปีล่วงไปแล้ว แม้แต่ชิ้นสมอเรายังไม่เคยขบเคี้ยว ส่วน
คนอื่นเหล่านี้ เที่ยวพูดว่า ที่โน้นยอกขัด พวกเราจะเคี้ยวกินยาใครอื่น
ชื่อว่าเป็นคนไม่มีโรคเหมือนเราดังนี้ . ชื่อว่า ความเมาในความเป็นผู้ไม่มี
โรค. การที่ยังอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว แล้วทำมานะว่า พวกเราจักทำบุญ
ในตอนแก่ ตอนนี้ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ก่อน ดังนี้ ชื่อว่า เมาในความ
เป็นหนุ่มสาว. การกระทำมานะอย่างนี้ว่า เราเป็นอยู่มานานแล้ว ยังเป็น
อยู่นาน จักเป็นอยู่อีกนาน เราอยู่เป็นสุขมาแล้ว กำลังเป็นอยู่อย่างเป็น
สุข จักเป็นอยู่อย่างเป็นสุข ( ต่อไป ) ดังนี้ ชื่อว่า เมาในชีวิต.
พึงทราบวินิจฉัยในความเป็นใหญ่ต่อไป. คุณชาติอันมาแล้วจาก
ความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อาธิปเตยยะ. การทำตนให้เป็นใหญ่ คือให้เป็น
หัวหน้า อย่างนี้ว่า เราเป็นคนเท่านี้โดยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ข้อนั้น
ไม่ควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ไม่กระทำความชั่ว ชื่อว่า อัตตาธิปไตย. การ
ทำชาวโลกให้เป็นใหญ่แล้ว ไม่ทำความชั่ว ชื่อว่า โลกาธิปไตย. การทำ
โลกุตตรธรรมให้เป็นใหญ่แล้วไม่ทำความชั่ว ชื่อว่า ธรรมาธิปไตย.
เหตุของการกล่าวถ้อยคำ ชื่อว่า กถาวัตถุ. สองบทว่า อตีตํ วา
อทฺธานํ
แปลว่า คติธรรม ที่ล่วงไปแล้ว อธิบายว่า ขันธ์ที่เป็นอดีต. อีก
อย่างหนึ่ง พึงแสดงเนื้อความในคำว่า อตีตํ วา อทฺธานํ นี้ โดยนิรุตติปถ-
สูตร ( สูตรที่ว่าด้วยหลักภาษา ) ซึ่งมีที่มาอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปใด
ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว การนับรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว
การบัญญัติรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว รูปนั้นไม่
นับว่า จักมี รูปนั้นไม่นับว่า มีอยู่. บทว่า วิชฺชา ความว่า ชื่อว่า วิชชา

เพราะอรรถว่า แทงทะลุความมืด. ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทำให้
รู้แจ้งก็ได้. ก็บุพเพนิวาสานุสสติญาณซึ่งเกิดขึ้นอยู่ ชื่อว่า วิชชา เพราะ
อรรถว่า ทำลายความมืด ซึ่งตั้งปกปิดขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน และ
กระทำขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ให้รู้แจ้ง. จุตูปปาตญาณ ชื่อว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า ทำลายความมืดที่ปกปิดจุติ และกระทำจุติ และปฏิ-
สนธินั้นให้รู้แจ้ง. ญาณ ความรู้ในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า วิชชา
เพราะอรรถว่า ทำลายความมืดที่ปกปิดสัจจะ 4 และกระทำสัจจะธรรมทั้ง 4
ให้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยในวิหารธรรมต่อไป. สมาบัติ 8 ชื่อว่า ทิพย-
วิหารธรรม. อัปปมัญญา 4 ชื่อว่า พรหมวิหารธรรม ผลสมาบัติชื่อว่า
อริยวิหารธรรม. ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ทรงให้พิสดารแล้วในเกวัฏฏสูตร.
ในคำว่า อิเม โข อาวุโส ดังนี้เป็นต้น พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวเเล้ว
นั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 180 ข้อ ด้วยอำนาจ ติกะ 60 ถ้วน
จึงได้แสดงสามัคคีรสไว้ ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบหมวด 3

ว่าด้วยธรรมหมวด 4



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจหมวด 3 ด้วยประการ
ดังนี้แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอำนาจหมวด 4 จึงเริ่มเทศนาอีก. บรรดา
หมวด 4 เหล่านั้น หมวด 4 ว่าด้วยสติปัฏฐาน ท่านให้พิสดารแล้วใน
เบื้องต้นนั่นเอง. พึงทราบอธิบายในหมวด 4 ว่า ด้วยสัมมัปปธาน. ข้อว่า
ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ให้เกิดกัตตุกัมยตาฉันทะ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ความพอใจ ความเป็นผู้มีความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่จะทำอันใด นั้นจัด
เป็นกุศล คือความเป็นผู้มีความพอใจในธรรม. ข้อว่า วายมติ ความว่า